ความเป็นมา
เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าสมัยขอมอยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบัน
ลงไปทางทิศใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า "เมืองสองแคว"
เหตุที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้ง อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือแม่น้ำน่าน
กับแม่น้ำแควน้อยแต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดิน
ห่างออกจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร ที่ตั้งตัวเมืองเก่า
ในปัจจุบัน คือ บริเวณวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก
ต่อมาเมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคง เรียกกันติดปากว่า "เมืองสองแคว" เรื่อยมา

แม่น้ำน่าน บริเวณจังหวัดพิษณุโลก ถ่ายเมื่อราว ค.ศ. 1952-04
(ภาพจาก University of Wisconsin-Milwaukee Libraries)
credit : https://www.silpa-mag.com/history/article_16549

สมัยก่อนกรุงสุโขทัย
ก่อนราชวงศ์พระร่วง ซึ่งมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นราชวงศ์ขึ้นครองกรุงสุโขทัย เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ที่มีอำนาจ
ครอบคลุมดินแดนแถบนี้คือ ราชวงศ์ศรีนาว- นำถม พ่อขุนศรีนาวนำถม เสวยราชเมืองเชลียง ตั้งแต่ราว พ.ศ. 1762 พระองค์ทรงมีโอรส 2 พระองค์ ได้แก่ พ่อขุนผาเมืองครองเมืองราด พระยาคำแหงพระรามครองเมืองพิษณุโลก ภายหลังพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์
ขอมสบาดโขลญลำพง เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยไว้ได้ พ่อขุนผาเมืองและพระสหาย คือ พ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกัน ปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนผาเมือง จึงยกเมืองสุโขทัย ให้ขุนบางกลางหาว ตั้งราชวงศ์พระร่วงครองเมืองสุโขทัยและได้เฉลิมพระนามเป็น "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์"

สมัยกรุงสุโขทัย
เมืองสองแคว (พิษณุโลก) อยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมือง จนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงได้ยึดเมืองสองแคว ซึ่งเดิมเคย
เป็นส่วนหนึ่งของอาณา จักรสุโขทัย ครั้นสมัย พระมหา ธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับทีเมืองสองแคว พระองค์ท่าน ได้เอาพระทัย
ใส่ทำนุบำรุงนำความเจริญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้าง เหมือง ฝาย สนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคม จากเมือง
พิษณุโลกไปเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีการสร้าง พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ในพระวิหาร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สมัยกรุงศรีอยุธยา
พิษณุโลกสมัยอยุธยา มีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมือง การปกครองยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เป็นราชธานี
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ. 2006 - 2031
รวม 25 ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของ "พิษณุโลก"
ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่ง
พระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.ศ. 2112 - 2133
ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลก เป็นนักกอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย ทรงสถาปนาพิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการประสานต่อความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

ด้านเศรษฐกิจ
เนื่องจากพิษณุโลก ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐ ทางเหนือ คือ
ล้านนาและกรุงศรีอยุธยาทางใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสอง
บางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกันทำสงครามต่อกัน
มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทาง วัฒนธรรมประเพณี ทั้ง 2 รัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ พิษณุโลกเป็นเส้นทาง สินค้า ของป่า
และผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัยการคมนาคม ผ่านลำน้ำน่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลาง
ของการค้านานาชาติแห่งหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
ในปัจจุบันที่พิษณุโลกมีหลักฐานชัดเจนว่า เป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยคุณภาพดีซึ่งมีอยู่ทั่วไป บริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย
โดยเฉพาะ ที่วัดชีประขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้
นอกจากจะใช้ในท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสินค้าส่งออก
ไปขายต่างประเทศด้วย วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่ในสมัย พระบรมไตรโลกนาถ นับว่าเมืองพิษณุโลก
มีความสำคัญยิ่ง ทางเศรษฐกิจ คือเป็นแหล่งทรัพยากร
ของกรุงศรีอยุธยา

ภาพถ่ายทางอากาศเมืองสองแควหรือพิษณุโลก
เดิมเป็นเมืองของกลุ่มราชวงศ์ผาเมือง
ที่ปกครองแคว้นสุโขทัยมาก่อนราชวงศ์พระร่วง
credit : https://www.silpa-mag.com/history/article_16549

ด้านการปกครอง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ จัดระเบียบการปกครอง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีอัครเสนาบดี
เป็นผู้ช่วย ในการบริหารงานคือ สมุหกลาโหม สมุหนายกหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความ ดูแลของ สมุหกลาโหม และหัวเมืองชายทะเล
อยู่ในความดูแลของกรมท่า

ด้านศาสนา
แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่าง อาณาจักรล้านนากับอยุธยา และพม่ากับกรุงศรีอยุธยา มาตลอด
แต่พระพุทธศาสนา ก็มิได้ถูกละเลยดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุโบราณสถาน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูป และวัด ปรากฏในปัจจุบัน
เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา
วัดราชบูรณะ และวัดเจดีย์ยอดทอง เป็นต้น ล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ของเดิม ที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการบำรุงมาโดยตลอด ในรัชการสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคาร วัดจุฬามณีขึ้นในปี
พ.ศ. 2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพาร ตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 รูป และในปี พ.ศ. 2025 ทรงมีพระบรมราชโองการให้บูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และให้มีการสมโภชถึง 15 วัน พร้อมกัน จึงได้โปรดให้นักปราชญ์ราชบัญฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงจบ 13 กัณฑ์ บริบูรณ์ด้วย และต่อมา
ในสมัยรัชการสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงสร้างรอยพระบาทจำลอง เมื่อ พ.ศ. 2222 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี
พร้อมทั้งจารึกเหตุการณ์ สำคัญทาง ศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย ด้านวรรณกรรมหนังสือมหาชาติคำหลวงได้รับการยกย่องจากวงวรรณกรรม ว่าเป็นวรรณคดีโบราณชั้นเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีวรรณคดีสำคัญที่นักปราชญ์เชื่อว่า นิพนธ์ขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่น ลิลิตญวนพ่าย ลิลิตพระลอ โคลงทวาทศมาศ และกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น เมืองพิษณุโลกในสมัยอยุธยาเคยเป็นทั้งราชธานี เมืองลูกหลวง และเมืองเอก ฉะนั้นจึงได้รับความอุปถัมภ์ทะนุบำรุงในทุก ๆ ด้านสืบต่อกันมา นอกจากบางระยะเวลาที่พิษณุโลกอยู่ในสภาวะสงคราม โดยเฉพาะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ทั้ง 2 ครั้ง ความรุ่งเรืองที่เคยปรากฏก็ถดถอยลงบ้างแต่ในที่สุดก็หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรม ของชาวไทย มาจนถึงปัจจุบัน

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุริมแม่น้ำน่านช่วงกลางเมืองพิษณุโลก ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
credit : https://www.silpa-mag.com/history/article_122782

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

เลขที่ 206 หมู่ 4 ถนน พิษณุโลก - หล่มสัก ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์. 0 5598 7718 - 20 โทรสาร. 0 5598 7718 - 20 ต่อ 410
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : saraban@ppao.go.th

Phitsanulok Provincial Administrative Organization

206 Moo 4 Phitsanulok - Lom Sak Road, Samokhae sub-district, Mueang Phitsanulok district, Phitsanulok province, 65000
Tel. +66 5598 7718 / 19 / 20 Fax. +66 5598 7718 / 19 / 20 Ext. 410
E-Mail : saraban@ppao.go.th

https://kecmukok.sanggau.go.id/uploads/gcr/

https://kecmukok.sanggau.go.id/uploads/thx/

https://kecmukok.sanggau.go.id/uploads/s5000/

https://codingpro.online/node_modules/wdx/

https://codingpro.online/node_modules/cron/wd808-login/

https://academy.tadabase.io/uploads/thumbnails/scatter/

https://codingpro.online/assets/backend/mts/

slot gacor

slot demo

slot thailand

https://erp.beacontrustee.co.in/uploads/cm8/

https://erp.beacontrustee.co.in/clients/limited/slot-thailand-777/

https://erp.beacontrustee.co.in/clients/limited/rtp-slot-gacor/

https://codingpro.online/node_modules/lock/daftar-slot-gacor/